...ยินดีต้อนรับท่านสู่....เวบบล็อกประชาสัมพันธ์....ของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพญาเม็งราย...จังหวัดเชียงราย....

    วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

    อบรมหลักสูตร การเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อ

    สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพญาเม็งราย จัดฝึกอบรมหลักสูตร การเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อ ภายใต้โครงการพัฒนาระบบการเลี้ยงโคเนื้อและกระบือ ประจำปีงบประมาณ 2555  ให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อตำบลเม็งราย เมื่อวันที่ 28  มีนาคม  2555  ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลเม็งราย อ ำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย โดยมีเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อต าบลเม็งราย เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 25 ราย  ใน การฝึกอบรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพิ่มความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการเลี้ยงโคเนื้อ การทำงานเป็นกลุ่ม และการสร้างเครือข่าย โดยมีเจ้าหน้าที่ของส านักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย และศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีปลวกแดง เป็นวิทยากรในการฝึกอบรม

    เสวนาการอนุรักษ์และการใช้ ประโยชน์จากควายไทย



    สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพญาเม็งราย จัดเสวนาการอนุรักษ์และการใช้ ประโยชน์จากควายไทย ภายใต้โครงการพัฒนาระบบการเลี้ยงโคเนื้อและกระบือ ประจ าปีงบประมาณ 2555  เมื่อวันที่ 27  มีนาคม  2555  ณ หอประชุมหมู่บ้าน บ้านห้วยก้าง หมู่ 11 ตำบลไม้ยา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย โดยมีเกษตรกร กลุ่มผู้เลี้ยงควายบ้านห้วยก้างเข้าร่วมเสวนา จ านวน 20 ราย  ใน การเสวนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ การมีส่วนร่วมตามรอยพระบาทฟื้นฟูภูมิปัญญาควายไทยสู่ความพอเพียง และ กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการเลี้ยงควายเชิงบูรณาการ และเป็นการประชาสัมพันธ์ผลงานของกลุ่มผู้เลี้ยงควายและการใช้ประโยชน์จากควาย และเป็นการรณรงค์การต่อสู้กับสภาวะวิกฤติโลกร้อน และลดการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างจริงจัง โดยมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย สำนักงานปศุสัตว์อำเภอพญาเม็งราย ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีปลวกแดง รอง
    นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลไม้ยา และปราชญ์ชาวบ้าน ร่วมในการเสวนาด้วย
      

    วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

    กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อเข้มแข็งของอำเภอพญาเม็งราย

    คลิกที่ภาพนี้ชมกิจกรรมที่ได้ดำเนินการผ่านมาช้าหน่อยเพราะมีภาพจำนวนมากครับ
    จาก ภาพยนตร์

    กลุ่มพัฒนาโค-กระบือไทย บ้านห้วยก้าง
               กลุ่มกระบือเฉลิมพระเกียรติ บ้านห้วยก้าง
     จากการที่ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรและมีรายได้จากภาคการเกษตรเป็นส่วนใหญ่เกษตรกรภายในตำบลไม้ยาจำนวน 5 หมู่บ้านได้แก่ บ้านสันโค้ง หมู่ที่ 8 , บ้านห้วยก้างนาล้อม หมู่ที่ 11 , บ้านห้วยก้างตลาด หมู่ที่12, บ้านห้วยก้างใหม่ หมู่ที่ 13 และบ้านห้วยก้างกลาง หมู่ที่ 17 ได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มและได้แสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการธนาคารโค-กระบือ ในปี พ.ศ.2552 และได้รับโคในโครงการจำนวน 22 ตัว กระบือจำนวน 22 ตัว ทางเกษตรกรได้แบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม เมื่อวันที่ 26 เดือนพฤษภาคมพ.ศ.2552 ตามความสนใจของแต่ละคนโดยแบ่งเป็น
    1.       กลุ่มพัฒนาโค – กระบือไทย บ้านห้วยก้าง       มีสมาชิกจำนวน  22  คน
    2.       กลุ่มอนุรักษ์กระบือไทย  บ้านห้วยก้าง           มีสมาชิกจำนวน  22  คน
    ทางสมาชิกให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มโดยตลอด เช่น การจัดทำกองทุนของกลุ่ม การสำรองพืชอาหารสัตว์ กองทุนยาสัตว์ประจำหมู่บ้าน มีการใช้มูลสัตว์ให้เกิดประโยชน์(ธนาคารขี้วัว-ควาย) การอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มนั้นยังเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการปลูกพืชอาหารสัตว์อีกด้วย ในการจัดตั้งกลุ่มของแต่ละกลุ่มนั้นประกอบด้วย ประธานกลุ่ม, รองประธานกลุ่ม, กรรมการ, เหรัญญิกและเลขานุการกลุ่ม รายละเอียดดังนี้
    กลุ่มพัฒนาโค – กระบือไทย  มีสมาชิกทั้งหมด  22  ราย มีคณะกรรมการดำเนินการดังนี้
    1.       นายวิชิต  จันทร์คำเรือง                      ประธานกลุ่ม / อาสากลุ่ม
    2.       นายสมศักดิ์  ไชยเจริญ                       รองประธานกลุ่ม
    3.       นายสมบูรณ์  ไกลถิ่น                         กรรมการ
    4.       นายมูล  จันทร์คำเรือง                       กรรมการ
    5.       นายฑูรย์  เปิกธนู                                       กรรมการ
    6.       นายบุญเรือง  อิ่นคำ                          เหรัญญิก
    7.       นายรัตติชัย  ไกลถิ่น                          เลขานุการกลุ่ม
    กลุ่มอนุรักษ์กระบือไทย บ้านห้วยก้าง
    1.       นายทวีศักดิ์     สิงห์แก้ว                ประธานกลุ่ม
    2.       นายถนอม   ไกลถิ่น                     รองประธานกลุ่ม
    3.       นายลพ      อิ่นแก้ว                     กรรมการ
    4.       นายตา     อินคำ                        กรรมการ
    5.       นายบุญเจน  หลวงใจ                    กรรมการ/อาสา
    6.       นายวิชิต    บัวจันทร์                    เหรัญญิก
    7.       นายสมบูรณ์    สิงห์แก้ว                 เลขานุการกลุ่ม
    8.       นายสนั่น      สีไส                       ที่ปรึกษา /กองทุนยาสัตว์
    ปัจจุบันทางกลุ่มกลุ่มพัฒนาโค – กระบือไทย มีจำนวนสัตว์ในโครงการฯ ทั้งหมดรวม 37 ตัวแบ่งเป็น แม่โคจำนวน 21 ตัว ลูกตัวที่ 1 จำนวน 16 ตัว  
    กลุ่มอนุรักษ์กระบือไทย มีจำนวนสัตว์ในโครงการฯทั้งหมด 37 ตัว แบ่งเป็น แม่กระบือจำนวน 22 ตัว ลูกกระบือตัวที่1 จำนวน 15 ตัว  
    สภาพการเลี้ยงดูสัตว์
    สภาพการเลี้ยงดูของโครงการธนาคารโค-กระบือ
    เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯที่ได้รวมตัวจัดตั้งเป็นกลุ่มโดยได้รับการสนับสนุนจากทางปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายโดยมอบหมายให้ทางสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพญาเม็งรายเป็นผู้คอยให้คำแนะนำและช่วยเหลือในด้านต่างๆ โดยได้มีการวางระบบสุขาภิบาลได้อย่างถูกต้องมีโรงเรือนที่มั่นคงแข็งแรง มีที่ให้อาหารและน้ำ มีที่เก็บมูลสัตว์ที่ถูกต้องโดยแบ่งคอกสาธิตและฟาร์มตัวอย่างออกเป็น
    คอกสัตว์สาธิต นายวิชิต  จันทร์คำเรือง กลุ่มพัฒนาโค-กระบือไทย
    คอกสัตว์สาธิต นายแก้วมูล  ปินธุ  กลุ่มอนุรักษ์กระบือไทย
    ฟาร์มนายวิชิต  จันทร์คำเรือง
    ฟาร์มนายแก้วมูล  ปินธุ
    ฟาร์มนายบุญเจน  หลวงใจ
    ฟาร์มนายสมบูรณ์  สิงห์แก้ว   
    การปลูกพืชอาหารสัตว์ การสำรองพืชอาหารสัตว์ การนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาเป็นอาหารสัตว์
    ทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนทอนพันธุ์อาหารสัตว์จากทางสำนักงานปศุสัตว์ฯโดยได้มีการปลูกพืชอาหารสัตว์ที่ได้รับการสนับสนุนเพื่อเป็นแหล่งอาหาร เป็นการสำรองพืชอาหารสัตว์ โดยการทำฟางอัดก้อน มีเครื่องอัดประจำหมู่บ้าน 1 เครื่อง (ของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย) การทำหญ้าหมักและปลูกไว้เพื่อขยายพันธุ์ให้สมาชิกในกลุ่มอีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์ได้อีทางหนึ่ง
    การดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยง
    ทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปศุสัตว์ฯได้ส่งเจ้าหน้าที่คอยช่วยดูแลด้านสุขภาพสัตว์ โดยได้มีการฉีดวัคซีน การถ่ายพยาธิในสัตว์ สนับสนุนเวชภัณฑ์และแนะนำการเลี้ยงสัตว์ได้อย่างถูกวิธีและทางกลุ่มได้จัดตั้งกองทุนประจำหมู่บ้านจำนวน 2 กองทุน
    1.กองทุนยาสัตว์ กลุ่มพัฒนาโค-กระบือไทย เงินทุนหมุนเวียน จำนวน 6,036   บาท
    2.กองทุนยาสัตว์ กลุ่มอนุรักษ์กระบือไทย   เงินทุนหมุนเวียน จำนวน 6,000 บาท
    การฉีดวัคซีนป้องกันโรคและการถ่ายพยาธิในสัตว์ของธนาคารฯ
    1.ฉีดวัคซีนปากและเท้าเปื่อย ปีละ 2 ครั้ง
    การใช้มูลสัตว์ให้เป็นประโยชน์
    การใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์ทางกลุ่มได้จัดตั้งกองทุนขี้วัว ขี้ควายออกเป็น 2 กลุ่มโดยสมาชิกในกลุ่มเพื่อที่จะได้ใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์ของสมาชิกในกลุ่มและการใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์ ดังนี้
    1.จัดตั้งกองทุนขี้วัว ขี้ควาย 2 กลุ่ม
    กลุ่มพัฒนาโค-กระบือไทย สมาชิกจำนวน       คน มีเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 3,000 บาท
    กลุ่มอนุรักษ์กระบือไทย สมาชิกจำนวน          คน มีเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 1,655 บาท
    2. จัดทำบ่อแก๊สชีวภาพ จำนวน 1 แห่ง ฟาร์มสาธิต นายวิชิต  จันทร์คำเรือง  

    การใช้แรงงานสัตว์และการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น
    ทางกลุ่มฯได้มีการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นแบบดังเดิมคือการทำนาแบบวิธีโบราณโดยการกระบือไถนาในฤดูการทำนา ทั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีดังเดิมและเป็นกิจกรรมของทางสมาชิกในกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีภายในกลุ่มโดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลไม้ยาเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านต่างๆ เพื่อที่จะเป็นแหล่งอนุรักษ์และเป็นการเรียนรู้แก่ผู้สนใจโดยแบ่งออกเป็น
    1.การใช้กระบือไถนาในฤดูปลูกข้าว
    2.การใช้กระบือเทียมเกวียน ขนส่งผลิตผลทางการเกษตร

    วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

    ปศุสัตว์ออกบริการคลีนิคเกษตรเคลื่อนที่ที่ตำบลไม้ยา อำเภอพญาเม็งราย

    นายธานินท์ สภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดคลินิคเกษตรเคลื่อนที่  ที่สนามหน้าเทศบาลตำบลไม้ยา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๕ 
     ในงานมีการออกร้านจัดนิทรรศการ บริการของหน่วยงานต่างๆ ทั้งจังหวัด
     สำนักงานปศุสัตว์อำเภอพญาเม็งราย โดยนายอนุวัฒน์ ธรรมพิทักษ์ นำทีมจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ร่วมออกบริการด้านปศุสัตว์ แจกเวชภัณฑ์ ทำหมันสุนัข แมว มีประชาชนนำสุนัข แมว มารับบริการทำหมัน กว่า ๕๐ ราย
     หัวหน้าส่วนราชการ ทั้งระดับอำเภอและจังหวัด มาร่วมออกบริการอย่างพร้อมเพียง โดยเฉพาะในส่วนของกระทรวงเกษตร
     มีประชาชนมาขอรับบริการล้นหลามครับ เจ้าหน้าที่สาวๆสายๆแทบไม่ได้เงยหน้า 

    ที่แจกไปก็แจก ส่วน ด้านมุมทำหมันสุนัข แมว ก็เร่งทำสุดฝีมือ  เพราะมีน้องหมา น้องแมวมากันมากมายเกินคาด หมดแรงข้าวต้ม กาแฟกันเลยทีเดียว

    วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

    ใต้ร่วมพระบารมี บุคคลต้นแบบที่นำพระราชดำริในหลวงมาดำเนินชีวิต

    "ความสุขความเจริญอันแท้งจริงนั้นหมายถึงความสุข ความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนาและการกระทำไม่ใช่ได้มาโดยบังเอิญหรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น"
    ความตอนหนึ่งในพระบรมราโชวาท
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ความสุขที่แท้จริงไม่ได้มาด้วยความบังเอิญ
    จากความเชื่อที่ว่าเงินเป็นสิ่งสำคัญชื้อความสุขได้ กลับทำให้ชีวิตเป็นทุกข์ยิ่งขึ้น แต่หลังจากที่ได้ลงมือปฏิบัติตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โดยเเริ่มต้นจากปลูกผักในสวนครัว เลี้ยงสัตว์ด้วยตนเอง ในเขตพื้นที่บ้าน ๕๓ ตารางวา นอกจากจะทำให้มีอาหารกินตลอดปีแล้วสุขภาพร่างกายและใจก็ค่อยๆดีขึ้นตามลำดับ จึงนับได้ว่ามีความสุขอย่างแท้จริง
    จากตัวตนของ..นางขนิษฐา มะโนสมบัติ 
    ๓๐๔ หมู่ที่ ๑ ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย